การใช้โปรเจคเตอร์ สำหรับงานฉากละครหรือการแสดงบนเวที
ถึงแม้ว่า พัฒนาการของ LED Display จะสามารถแสดงภาพได้ละเอียดยิ่งขึ้นก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถละเอียดหรือเนียนเท่ากับภาพที่ฉายออกจากโปรเจคเตอร์ไม่ได้ ในเวลานี้ (2014) อาจจะมี LED Display ที่มีเพียง pitch 4 มม. ( Pitch หมายถึงระยะห่างของหลอด LED แต่ละหลอดบนแผ่น Display) แต่ด้วยระดับราคา เมื่อเทียบกับความละเอียดที่ได้ ยังแพงกว่าโปรเจคเตอร์อยู่หลายเท่า
ดังนั้นการใช้โปรเจคเตอร์ บนงานฉากละคร หรือการแสดง ยังให้ความคุ้มค่า ทั้งเรื่องสีสันและคุณภาพของภาพที่ละเอียดเนียนกว่า ไล่โทนสีได้อย่างเป็นธรรมชาติ
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ คณาจารย์ จาก”สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์” ที่ให้โอกาสเราได้เอาโปรเจคเตอร์ เข้าไปทดสอบใน”โรงละครวังหน้า” สำหรับสร้างภาพบนฉากละคร ขนาด 9 x 3 เมตร
เนื่องจากทางสถาบันฯ ต้องการฉากหลังของตัวละครขนาดกว้างxสูง 9 x 3 เมตร และฉากหน้า (Skim) 9 x 3.75 ซึ่งมีข้อจำกัดว่าแสงจะต้องไม่บังตัวละคร และให้ตัวละครอยู่ใกล้ฉากมากที่สุด
ในช่วงนั้น เรามีโปรเจคเตอร์ ที่ติดเลนส์มุมกว้างพิเศษ ของ Mitsubishi รุ่น XD500U-St ซึ่งมี Throw Ratio ของเลนส์เพียง 0.7 ซึ่งจริงๆแล้วเราสามารถใช้เครื่องฉายที่เปลี่ยนเลนส์แล้วใช้เลนส์มุมกว้างที่ มี Throw Ratio สั้นกว่านี้ก็ได้ แต่ในช่วงนั้นราคาค่อนข้างสูง เพื่อทำความเข้าใจให้ง่ายเข้า เมื่อ Throw ratio เพียง 0.7 ก็หมายถึง หากเราต้องการภาพกว้าง 1 เมตร เราก็สามารถใช้ระยะฉายเพียง 70 ซม. เท่านั้นเอง
ดังนั้นในที่นี้หากเราต้องเราภาพขนาด 4 เมตร เราจะติดตั้งโปรเจคเตอร์ห่างจากจอเพียง 280 ซม.เท่านั้น
ทางเราเลยออกแบบสำหรับฉากหลัง โดยใช้โปรเจคเตอร์ 3 เครื่อง ฉายต่อกัน และใช้คอมพิวเตอร์ ในการลบรอยต่อ เพื่อให้เป็นภาพเดียวกันแบบ Panorama และสำหรับฉากหน้า (Skim) ซึ่งปรกติจะใช้น้อยกว่า เราเลยใช้เพียง 2 เครื่อง และลบรอยต่อด้วยคอมพิวเตอร์เช่นกัน
จริงๆแล้วความสว่างของเครื่องฉายเพียง 2000 ลูเมนส์ เท่านั้น แต่เน่ืองจากในโรงละคร ไม่มีแสง Daylight เข้ามารบกวน ทำให้เรามันใจถึงความสว่างในระดับนี้ เรื่องรายละเอียดคงไม่ต้องพูดถึง เพราะระยะผู้ชมห่างออกไปมาก ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องฉายที่รายละเอียดสูงเลย เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย
ในภาพเจ้าหน้ากำลัง ปรับแต่งเบื้องต้น เพื่อให้การฉายซ้อนกันทั้งสามภาพ เป็นไปอย่างสมบูรณ์
เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ราบรื่น ไม่ติดขัด ผู้ใช้สามารถวางภาพนิ่ง วิดีโอ และเสียง ลงในชุดควบคุมของระบบได้อย่างสะดวกสบาย และเป็นไปตามเวลาที่กำหนด โดยใช้ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์เป็นตัวจัดการ ทั้ง 5 เครื่องฉายให้ทำงานสอดคล้องกัน
ภาพการควบคุมโปรเจคเตอร์ ผ่านเครื่องควบคุม โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นตัวจัดการ
ภาพจริงบนโรงละคร มองจากด้านข้าง จะเห็นฉากหลัง และฉากหน้า(Skim)
ในปัจจุบัน (2016) เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ ราคาถูกลงมาก และมีโปรเจคเตอร์ ที่มี Throw Ratio สั้นมากขึ้น และสว่างมากขึ้น ดังนั้นการใช้โปรเจคเตอร์ เป็นตัวสร้างภาพบนฉาก จึงเป็นเรื่องที่สะดวกขึ้น อีกทั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็พัฒนา ทำให้อุปกรณ์มีขีดความสามารถมากขึ้น เรา AVmaster.com ยินดีให้คำปรึกษาครับ 🙂
ลุงตุ๊ (Sep 2011)
(ปรับปรุงบางช่วง เพื่อให้ทันเหตุการณ์บ้าง Jun 2016)
โทร. 086 095 9000